ongphra.f95afa87

มูเตวอลเปเปอร์

News & Update

บทความ

แชร์บทความ

เวียนเทียนวันไหนได้บ้าง มีสำคัญอย่างไร ของที่ต้องเตรียมและการเวียนเทียนที่ถูกวิธี
พิธีเวียนเทียนจัดวันไหนบ้าง?

1.วันมาฆบูชา(ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)

มาฆบูชา วันสำคัญที่พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูปมาชุมนุมกันโดยไม่ได้นัดหมาย เกิดเหตุจาตุรงคสันนิบาต และพระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์

ซึ่งในทางพุทธศาสนาถือเป็นหัวใจสำคัญ วันมาฆบูชาจึงนับว่าเป็นวันที่

สำคัญมากอีกวันหนึ่งของชาวพุทธที่มีกิจกรรมทางพุทธศาสนาให้ทำมากมาย

 

2.วันวิสาขบูชา(ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6)

วิสาขบูชา อีกวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาซึ่งถือเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า โดยคณะกรรมาธิการองค์การสหประชาชาติ หรือ UN ได้มีการพิจารณาและลงมติกันให้วันวิสาขบูชา

เป็นวันสำคัญของโลกด้วยเหตุผลว่า พระพุทธเจ้านั้นทรงมีเมตตาและ

เป็นมหาบุรุษของเหล่ามวลมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ยกเลิกระบอบชนชั้นวรรณะหรือเลิกทาสโดยไม่มีการนองเลือด

 

3.วันอาสาฬหบูชา(ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8)

อาสาฬหบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศศาสนาเป็นครั้งแรกและ

ทรงทำการปฐมเทศนา เทศน์กัณฑ์แรก คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเพื่อเป็น

การโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งในวันนี้ก็ได้มีสาวก

รูปแรกที่ได้บรรลุธรรมและบวชเป็นพระสงฆ์รูปแรก รวมถึงในด้านพระพุทธศาสนานับว่าวันอาสาฬหบูชานี้เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบองค์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จึงถือเป็นวันที่สำคัญมากวันหนึ่งเลยทีเดียว

 

4.วันอัฐมีบูชา(แรม 8 ค่ำ เดือน 6)

วันอัฐมีบูชา หรือวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลังจากปรินิพพานได้ 8 วัน ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน

แต่จะมีความแตกต่างกับ 3 วันก่อนหน้าตรงที่อาจไม่ได้มีการจัดงานพิธีอย่าง

แพร่หลายทั่วทุกวัด จะมีเพียงบางวัด บางพื้นที่เท่านั้น

 
ความสำคัญของการเวียนเทียน

ความสำคัญของการเวียนเทียน เป้าหมายหลักของการทำกิจกรรมทางพุทธศาสนานี้นั้น มีขึ้นเพื่อให้พุทธศาสนิกชนทุกคนได้ระลึกถึงอำนาจบารมีของคุณพระศรีรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตระหนักรู้และเข้าใจถึงการหมุนเวียนไปของวัฏสงสารการเวียนว่ายตายเกิด โดยการเวียนเทียนในประเทศไทยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากทางอินเดียซึ่งได้นำ

การทำพิธีดังกล่าวเข้ามาพร้อมกับพระพุทธศาสนาซึ่งปรากฏหลักฐานการแสดงความเคารพศรัทธาต่อพระรัตนตรัยด้วยการทำพิธี ดังกล่าวอยู่ในพระไตรปิฎก จากนั้นได้มีการนำมา

ปรับประยุกต์ให้เข้ากับวัฒนธรรมของไทยซึ่งมีการยึดถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีหลักฐานปรากฏตั้งแต่สมัยทวารวดี รวมถึง มีข้อความในพงศาวดารยืนยันอีกด้วย

 
ของที่ต้องใช้ในการเวียนเทียน

ในการเวียนเทียนนั้นของที่ต้องใช้หรือจัดเตรียมสำหรับการเข้าร่วมพิธี เวียนเทียนเมื่อถึงวันสำคัญทางพุทธศาสนานั้นมีทั้งหมด 3 อย่างด้วยกัน ได้แก่

  • ธูป 3 ดอก
  • เทียน 1 เล่ม
  • ดอกไม้เวียนเทียน 1 คู่
 
วิธีการเวียนเทียนอย่างถูกวิธี
  • ทำการชำระร่างกายและจิตใจ : ก่อนไปเวียนเทียนควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด ทำจิตใจให้เบิกบานแจ่มใส
  • เตรียมของบูชา : เตรียมธูป-เทียน ดอกไม้เวียนเทียนตามหัวข้อก่อนหน้าที่ได้กล่าวไป
  • ไหว้พระประธานเสริมความสิริมงคล : เมื่อไปถึงวัดอันดับแรกให้เข้าไปในโบสถ์เพื่อไหว้สักการะพระประธานให้เรียบร้อยก่อนจะออกมาเวียนเทียน
  • เริ่มเวียนเทียน : จุดธูปเทียนที่เตรียมมา นำมาถือไว้ในมือพร้อมดอกไม้เวียนเทียน พนมมือเดินวนขวารอบโบสถ์จำนวน 3 รอบ ขณะนั้นให้ตั้งจิตสวดมนต์รวมถึงระลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัยไปด้วย
  • วางดอกไม้ธูปเทียน : หลังจากเวียนเทียนครบ 3 รอบ ให้นำธูป-เทียน และดอกไม้เวียนเทียนไปวางไปบริเวณจุดบูชาที่ทางวัดจัดเตรียมไว้
 
บทสวดมนต์สำหรับใช้ระหว่างเวียนเทียน

เวียนเทียนรอบที่ 1 ระลึกถึงพระพุทธคุณ

“อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ

วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร

ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ”

 

 

เวียนเทียนรอบที่ 2 ระลึกถึงพระธรรมคุณ

“สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก

เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ”

 

 

เวียนเทียนรอบที่ 3 ระลึกถึงพระสังฆคุณ

“สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย

ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชลีกะระณีโย

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ”

บทความแนะนำ