ongphra.f95afa87

มูเตวอลเปเปอร์

News & Update

บทความ

แชร์บทความ

๔ พระคาถาศักดิ์สิทธิ์ ป้องกันภยันตราย

สำหรับท่านที่ต้องการพระคาถาที่มีพระมหาพุทธานุภาพครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น โชคลาภ บารมี ความสำเร็จในหน้าที่การงาน เสน่ห์เมตตา ป้องกันสิ่งอัปมงคลทั้งหลาย ทางเพจแนะนำพระคาถาโบราณที่บูรพาจารย์ท่านสวดเจริญพุทธมนต์ บำเพ็ญจิตตภาวนาให้เป็นสิริมงคล คุ้มครองตนเองและบ้านเมือง ได้แก่ พระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้าที่ใช้ในพระราชสำนัก 

พระคาถาบูชาหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด พระคาถาพญายูงทองขององค์หลวงปู่มั่น โดยให้อัญเชิญมหายันต์พระคาถานี้ติดตัวไว้ หรือบูชาไว้ที่บ้าน พร้อมสวดบูชาเป็นประจำ จะช่วยเสริมดวงชะตาให้เป็นสิริ ไม่มีตกต่ำ ปกป้องคุ้มครองจากภยันตรายทั้งปวง

1. พระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า

พระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า พระคาถามีความศักดิ์สิทธิ์ครอบจักรวาล เจรจาสิ่งใดสำเร็จ สมหวังทั้งโภคทรัพย์ วาสนา บารมี และเมตตา ทั้งช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัย ป้องกันเภทภัยหรือภยันอันตราย อุบัติเหตุ เปลี่ยนจากหนักให้เป็นเบา จากร้ายให้กลายเป็นดี ป้องกันสิ่งไม่ดีชั่วร้าย ขับไล่เสนียดจัญไร อาถรรพ์ต่าง ๆ 

 

คาถา สวด ๙ จบ เป็นมงกุฎครอบศีรษะ “อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ”

2. พระคาถาบูชาหลวงปู่ทวด

พระคาถาบูชาหลวงปู่ทวด คาถาบูชาหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด โดยมีคติความเชื่อสืบต่อกันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่า “อานุภาพแห่งพระคาถานี้ ประมาณมิได้เลย ภาวนาก่อนออกเดินทาง เป็นแคล้วคลาดปลอดภัย ภัยอันตรายไม่กล้ำกลาย

 

 คาถา ” นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา “

3. พระคาถาบูชาหลวงปู่พระอุปุคต

พระคาถาบูชาหลวงปู่พระอุปุคต คาถามีอิทธิฤทธิ์ คือ ขจัดภัยพาล พญามาร ปกป้องคนดีมีศีลธรรม บุญฤทธิ์ คือ บันดาลโชคลาภแก่คนดีมีศีลธรรม หมั่นสวดไว้จะช่วยป้องกันภัยได้ทั่วสารทิศ

 

คาถา “พระอุปคุตตัง มหาเถรัง มหิทธิกัง มหานุภาวัง วิธังเสติ อะเสสะโต ยะถาวายะ ปะฐิตาโข มัตถาเน อิติ อาหะ ภะคะวา”

 

1. พระคาถายูงทองของหลวงปู่มั่น

พระคาถายูงทองของหลวงปู่มั่น พระคาถาป้องกันภัย หรือคาถาโมรปริตร หรือที่เรียกกันติดปากว่า คาถาพญายูงทอง จากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ถือเป็นหนึ่งในบทสวดมนต์สำคัญ ที่เชื่อกันว่าช่วยป้องภัยภัยนานาประการ แคล้วคลาดเป็นเลิศ โดยพระสยามเทวาธิราชขอบารมีจากองค์หลวงปู่มั่นให้ปกปักรักษาประเทศไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลวงปู่มั่นจึงกำหนดจิตพิจารณาจนได้คาถาว่า “นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา”

บทความแนะนำ