ongphra.f95afa87

มูเตวอลเปเปอร์

วอลเปเปอร์ ครูกายแก้ว บรมครูผู้เรืองเวท

วอลเปเปอร์ ครูกายแก้ว บรมครูผู้เรืองเวท
ราคา : 199฿
 
ประวัติ “ครูกายแก้ว”

“ครูกายแก้ว” หรือที่รู้จักกันในนามของ “พ่อใหญ่ บรมครูผู้เรืองเวท” ตามตำนานเล่าว่ามีพระธุดงค์รูปหนึ่ง ไปทำสมาธิที่ปราสาทนครวัด นครธม ประเทศกัมพูชา ขากลับท่านได้เดินทางผ่านจังหวัดลำปางและพบกับ อาจารย์ถวิล มิลินทจินดา จึงได้มอบองค์ครูกายแก้วขนาดประมาณ 2 นิ้วให้ และอาจารย์ถวิลได้นำองค์ครูกายแก้วมาบูชา ทำให้มีชื่อเสียง เงินทอง และ เริ่มโด่งดัง ต่อมาอาจารย์ได้มอบองค์กายแก้วไว้ให้กับอาจารย์สุชาติ รัตนสุข ก่อนจะนำไปหล่อขึ้นรูปองค์ใหญ่ขึ้นเป็นองค์แรก มีลักษณะเป็นองค์ยืน คล้ายคนแก่ นำไปไว้ที่สำนัก จุดประสงค์ก็เพื่อเป็นการบูชาครู

 

ปัจจุบันองค์ปฐมแบบยืนของ “ครูกายแก้ว” นั้น ถูกย้ายไปไว้ที่บ้านของ คุณสุวรรณี เต็มเจริญสุข ส่วนองค์ต่อมาที่เป็นแบบองค์นั่ง ถูกเก็บเอาไว้บูชา ที่บ้านของท่านอาจารย์สุชาติเอง แต่หากว่าใครอยากจะกราบไหว้ขอพรองค์ ครูกายแก้ว ก็สามารถไปได้ที่เทวาลัยพระพิฆเนศห้วยขวาง เทวาลัยพระพิฆเนศบางใหญ่และศาลพระพิฆเนศ อาเขตเชียงใหม่

 
ลักษณะของ “ครูกายแก้ว”

รูปร่างลักษณะขององค์ครูกายแก้วนั้น มีลักษณะของผู้บำเพ็ญ เป็นครึ่งมนุษย์ครึ่งนก เนื่องจากด้านหลังมีปีก เล็บยาว ตาแดง และด้านหน้ามีเขี้ยวคล้ายนกการเวก มีความน่าเกรงขาม อ้างอิงตามหลักฐานที่ปรากฏอยู่บนกำแพงบายน ที่มีประวัติของการเวก ซึ่งเป็นพวกนักดีดสีตีเป่า ถือเป็นครูของศาสตร์ศิลป์ทั้งหลาย ในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของกัมพูชา

 
วอลเปเปอร์ ครูกายแก้ว บรมครูเรืองเวท

 

ครูกายแก้ว เป็นที่เลื่องลือในด้านของความศักดิ์สิทธิ์ ให้พรในเรื่องความสำเร็จ ความร่ำรวย เจริญรุ่งเรืองเงินทอง อีกทั้งมีการเปรียบเทียบว่าครูกายแก้วเป็นครึ่งมนุษย์ ครึ่งนก มีลักษณะคล้ายกับนกการเวก เป็นสัตว์ป่าในตำนาน อาศัยอยู่ที่ป่าหิมพานต์ มีเสียงที่ไพเราะ สะกดให้ทุกคนหยุดฟัง ดึงดูดและโน้มน้าวใจ ทำให้ผู้ที่มีอาชีพพ่อค้าแม่ขายนิยมบูชาครูกายแก้ว เพื่อให้ดึงดูดลูกค้า ค้าขายได้กำไร เงินทองไหลมาเทมา

 

ไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้นที่นิยมบูชาครูกายแก้ว แต่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวจีน ไต้หวัน และฮ่องกงก็นิยมบูชาไม่แพ้กัน โดยยกย่องให้ครูกายแก้วเป็นเสมือนเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย

 
คาถา “ครูกายแก้ว”

“นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธ ธัสสะ” (ตั้งนะโม 3 จบ)

“มะอะอุ ครูกายแก้ว เมตตา จะมหาราชา สัพพะสเน่หา มะมะจิตตัง ปิยังมะมะ” (สวด 9 จบ)

การบูชาองค์ครูกายแก้วนั้น เหล่าศิษยานุศิษย์จะทำ การบูชาครูด้วย ธูป 5 ดอก กราบไหว้องค์ครู หลังจากนั้นจะทำการถวายเงินที่ตู้แก้วของครูกายแก้ว และทำการเคาะแล้ว จึงขอพรบอกกล่าวความปรารถนาแก่องค์ท่าน

0 0 votes
ความพึงพอใจ
Subscribe
Notify of
guest
0 Reviews
Inline Feedbacks
View all comments
บทความแนะนำ